โดย Matty Lin, General Manager, Southeast Asia, Global Business Solutions, TikTok


จากภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้สำหรับธุรกิจทุกขนาดในอาเซียนเพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จ

ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และขนาดย่อย (MSMEs) คือหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก และมีบทบาทอย่างยิ่งในเศรษฐกิจอาเซียน เพราะมีสัดส่วนมากกว่า 90% ของภาคธุรกิจ ทั้งยังเป็นผู้จ้างงานถึง 67% จากการจ้างงานทั้งหมด และในด้านเศรษฐกิจผู้ประกอบการกลุ่มนี้เป็นผู้ขับเคลื่อนผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มากกว่า 40% ในภูมิภาค ดั้งนั้นการเข้าถึงแพลตฟอร์มดิจิทัลและนวัตกรรมต่าง ๆ จึงเป็นการช่วยให้ MSMEs เข้าถึงและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้บริโภคได้มากขึ้น ร้อยเรื่องราวเกี่ยวกับแบรนด์ได้ดีขึ้น และช่วยสร้างผลสำเร็จทางธุรกิจได้มากขึ้น เป็นการเน้นย้ำถึงความสำคัญของ MSMEs ในการนำดิจิทัลมาประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์ทางธุรกิจของตน

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA) มีธุรกิจขนาด MSMEs มากกว่า15 ล้านรายที่ใช้ TikTok ในการทำธุรกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน และในปี 2567 นี้ จากการประชุม ASEAN Business and Investment Summit 2024 ที่จัดขึ้นที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ภายใต้หัวข้อ 'Agriculture to Digital' หรือ 'จากเกษตรกรรมสู่ดิจิทัล' กลุ่มผู้ประกอบการ MSMEs ในภูมิภาคได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลผ่านการใช้ TikTok Shop ที่ผู้ขายจะได้รับการสนับสนุนผ่านโปรแกรมการช่วยเหลือที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ เพื่อตอบสนองความต้องการในแต่ละตลาด ส่งผลให้สินค้าที่มาจากทั้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหัตกรรม อาหาร หรือเสื้อผ้า ได้เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น

ในปีที่ผ่านมา TikTok ได้ให้ความช่วยเหลือ MSMEs ในการปรับตัวเข้ากับเศรษฐกิจดิจิทัลอยู่เสมอผ่านโปรแกรมการพัฒนาทักษะ การสนับสนุนทางการศึกษา และโครงการต่างๆ ในการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

ในอินโดนีเซีย Tokopedia และ ShopTokopedia ได้จับมือร่วมกันเปิดตัวโครงการ 'Beli Lokal' (Buy Local) ในเดือนธันวาคม ปี 2566 โครงการนี้ได้นำเสนอแพลตฟอร์มพิเศษสำหรับสินค้าในท้องถิ่นเพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในอินโดนีเซีย โครงการนี้ช่วยเพิ่มการมองเห็นให้กับผู้ขายท้องถิ่นได้อย่างมาก ส่งผลให้เกิดการซื้อขายเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 19 เท่า นอกจากนี้ TikTok ยังร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของอินโดนีเซีย (Ministry of Tourism and Creative Economy) เพื่อเปิดตัวโปรแกรม "Tiktok Jalin Nusantara" ที่ประกอบไปด้วยการอบรมเพื่อเพิ่มทักษะทางดิจิทัล และขยายการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มใน 19 เมืองและในหมู่บ้านชนบท ทั้งหมดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของความมุ่งมั่นที่ TikTok ได้ประกาศไว้ในงาน TikTok SEA Impact Forum ในปี 2566 ว่าจะช่วยเหลือเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย โดย TikTok สามารถสนับสนุนผู้คนในอินโดนีเซียได้ถึง 18,000 คน และ MSMEs ในระยะนำร่องจำนวน 500 ราย

นอกจากนี้ TikTok ได้ร่วมมือกับองค์กรของรัฐบาลหลายหน่วยงานในมาเลเซียเพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือ MSMEs ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เช่นในเดือนกันยายน ปี 2567 TikTok ได้ฝึกฝนทักษะให้กับ MSMEs มากกว่า 100,000 ราย ผ่านการร่วมมือกับรัฐบาล อาทิ MATRADE, FAMA, MEDAC, TEKUN Nasional, MINTRED, SDEC, MDEC, PUNB, SIDEC, KKDW เป็นต้น รวมถึงโครงการ #JOMLokal ซึ่งมีเป้าประสงค์ในการเพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์และสินค้าที่หลากหลายของมาเลเซียในแพลตฟอร์ม TikTok Shop

ในฟิลิปปินส์ แคมเปญ "Buy Local Shop Local" เกิดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ MSMEs และแบรนด์สินค้าจากอุตสาหกรรมในครัวเรือน และธุรกิจในแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ เป็นที่รู้จักมากขึ้น TikTok ได้ช่วยโปรโมทผู้ขายไปมากกว่า 1,000 ราย และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นมากกว่า 330,000 รายการ และยังมีการร่วมมือกับกรมการค้าและอุตสาหกรรมของฟิลิปปินส์เพื่อฝึกอบรมให้ MSMEs สามารถใช้ TikTok Shop ในการขยายธุรกิจของตน

ในประเทศไทย เราได้ร่วมมือกับกรมพัฒนาชุมชน (CDC) ในการนำผู้ขายมากกว่า 1,500 รายจากโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ ในการนำสินค้าท้องถิ่นจากทั่วประเทศทำการขายบนพื้นที่ออนไลน์ และจับมือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า(DBD)เพื่ออบรมทักษะทางดิจิทัลให้กับผู้ค้า MSMEs มากกว่า 7,000 ราย และช่วยเหลือผู้ขายในการใช้งานแพลตฟอร์ม TikTok Shop

นอกจากนั้นเรายังได้ร่วมมือกับกระทรวงเกษตรกรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม (Ministry of Agriculture and Rural Development) เพื่อส่งเสริมและฝึกอบรมเกษตรกรชนบทกว่า 3,000 ราย จาก 30 จังหวัด ผ่านโครงการ "One Commune One Product" เพื่อแสดงสินค้าของพวกเขาให้ได้เป็นที่รู้จักทั่วประเทศ

มากไปกว่านี้ เรายังมีความร่วมมือต่างๆ เพิ่มการเข้าถึงการศึกษาและเตรียมความพร้อมให้เยาวชนด้วยทักษะที่จำเป็นสำหรับยุคดิจิทัล ทั้งเรายังร่วมมือกับมูลนิธิอาเซียน (ASEAN Foundation) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการเยาวชนและส่งเสริมชุมชนที่ช่วยเพิ่มการเติบโตในระดับภูมิภาคอีกด้วย

เรายังคงยึดมั่นในภารกิจของการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และมอบความสุขให้กับทุกคนซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของเรานับตั้งแต่การเปิดตัวแพลตฟอร์มในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อ 7 ปีก่อน และในอนาคต จุดมุ่งหมายสำคัญของเราจะยังคงไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือ การมุ่งสร้างชุมชนที่สร้างสรรค์และปลอดภัยเพื่อสนับสนุนธุรกิจท้องถิ่น การขยายการเข้าถึงการเรียนรู้ทักษะทางดิจิทัล และเสริมสร้างความเป็นผู้ประกอบการเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน