รายงานข้อมูลเชิงลึกการใช้งานอินเทอร์เน็ตของคนไทยจาก Data Reportal แสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีตัวเลขผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมากกว่า 61.21 ล้านคน หรือมากกว่า 85.3% ของจำนวนประชากรทั้งหมด จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกอินเทอร์เน็ตมีอิทธิพลกับความเป็นอยู่ของผู้คนมากขนาดไหน มากกว่าการทำหน้าที่เชื่อมต่อผู้คนเข้าไว้ด้วยกัน แพลตฟอร์มต่างๆ ยังจำเป็นต้องพัฒนานโยบายด้านความปลอดภัยเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากโลกอินเทอร์เน็ตที่อาจเกิดขึ้นได้

เนื่องด้วยคอนเทนต์บนแพลตฟอร์มที่มีความหลากหลายเต็มเปี่ยมไปด้วยสาระและความบันเทิง ทำให้ TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมจากผู้ใช้งานอย่างแพร่หลาย TikTok ตระหนักดีถึงบทบาทสำคัญของแพลตฟอร์ม จึงมุ่งมั่นทุ่มเทสร้างพื้นที่ปลอดภัยบนโลกดิจิทัล ตอกย้ำการเป็นแพลตฟอร์มด้านความบันเทิงที่น่าเชื่อถือ พร้อมรักษามาตรฐานการเป็นแพลตฟอร์มที่ให้ความสำคัญด้านการสร้างสภาวะแวดล้อมเชิงบวกเพื่อให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถแสดงออกได้อย่างมั่นใจโดยไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เพราะพื้นที่ที่ปลอดภัยจะส่งเสริมให้ผู้ใช้งานได้จุดประกายความคิดสร้างสรรค์และความเป็นตัวของตัวเองได้อย่างเต็มที่

TikTok เดินหน้าผลักดันนโยบายด้านความปลอดภัยของผู้ใช้งานในหลากหลายมิติ ได้แก่ การต่อต้านข้อมูลที่บิดเบือนไม่เป็นความจริง (Anti-misinformation) ความปลอดภัยของผู้เยาว์ (Minor Safety) และสุขภาวะดิจิทัลและการให้ความรู้ทางด้านดิจิทัล (Digital Wellbeing and Digital Literacy) ผ่านการริเริ่มแนวทางการส่งเสริมความปลอดภัยต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้เกิดผลเชิงบวกในวงกว้าง

การต่อต้านข้อมูลที่บิดเบือนไม่เป็นความจริง (Anti-Misinformation)

เมื่อพฤติกรรมการรับข้อมูลข่าวสารของผู้ใช้งานในปัจจุบันขึ้นอยู่กับความเร็วและความกระชับของเนื้อหา แต่นอกจากความรวดเร็วในการนำเสนอเนื้อหาบนแพลตฟอร์มแล้ว ความถูกต้องของเนื้อหาก็ยังคงเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่สามารถละเลยได้เช่นกัน ทำให้ TikTok ในฐานะแพลตฟอร์มมีความมุ่งมั่นอย่างมากที่จะช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้ และร่วมกันต่อต้านข้อมูลที่บิดเบือนไม่เป็นความจริงจากแพลตฟอร์ม โดยที่ผ่านมา TikTok ได้มีการพัฒนาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นทางการเกี่ยวกับสถานการณ์ที่อาจส่งผลต่อกระแสสังคมในช่วงเวลานั้นๆ ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น Information Hub หรือ Information Tag และ Live Banner ที่จะปรากฏขึ้นบนวิดีโอหรือระหว่างการไลฟ์หากเนื้อหานั้นมีความเกี่ยวข้องกับประเด็นสังคมที่ควรได้รับข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เป็นทางการ นอกจากนี้ยังได้มีการร่วมมือกับพันธมิตรระดับโลกในการตรวจสอบข้อมูลอย่าง Agence France-Presse ซึ่งเป็นสำนักข่าวระดับโลก รวมถึงการทำงานร่วมกับ COFACT ในแคมเปญต่างๆ การต่อต้านข้อมูลบิดเบือนที่ไม่เป็นความจริง คือ หนึ่งในภารกิจของ TikTok ที่ได้ทำอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษามาตรฐานการเป็นแพลตฟอร์มที่น่าเชื่อถือทั้งในปัจจุบันและอนาคต

ความปลอดภัยของผู้เยาว์ (Minor Safety)

หนึ่งในนโยบายที่ TikTok ได้ให้ความสำคัญมาโดยตลอด คือ ความปลอดภัยของผู้เยาว์ เพื่อสร้างพื้นที่ที่ปลอดภัยให้กับผู้ใช้กลุ่มนี้ได้แสดงออกอย่างมั่นใจและสร้างสรรค์ เพราะความปลอดภัยของเยาวชนคือเรื่องที่ TikTok ให้ความสำคัญสูงสุด โดย TikTok ไม่อนุญาตให้มีเนื้อหาที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการถูกแสวงประโยชน์หรือได้รับอันตรายต่อจิตใจ ร่างกาย และพัฒนาการโดยสิ้นเชิง ในขณะเดียวกันแพลตฟอร์มยังคำนึงถึงความสมดุลระหว่างประสบการณ์ของผู้ใช้และความห่วงใยของผู้ปกครอง โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนและครอบครัวได้มีส่วนร่วมกับการเลือกประสบการณ์ที่เหมาะสมกับช่วงอายุและต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว TikTok ได้มีการดำเนินการพัฒนา Family Pairing ให้ผู้ปกครองสามารถปรับแต่งตัวคัดกรองเนื้อหาและช่วยลดโอกาสในการรับชมเนื้อหาที่อาจไม่เหมาะสมได้อย่างเฉพาะเจาะจง รวมถึงการจัดตั้ง Youth Council สภาเยาวชนที่จะเปิดพื้นที่การรับฟังให้กับผู้ใช้ที่เป็นเยาวชนได้มีโอกาสแบ่งปันประสบกาณ์บนแพลตฟอร์ม รวมถึงมุมมองที่อยากเสนอแนะเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

สุขภาวะดิจิทัลและการให้ความรู้ทางด้านดิจิทัล (Digital Wellbeing and Digital Literacy)

อีกหนึ่งความมุ่งมั่นด้านความปลอดภัยที่ TikTok ได้ผลักดันมาโดยตลอด คือ การสร้างสุขภาวะดิจิทัลที่ดีให้กับผู้ใช้งานได้มีเกราะป้องกันและสามารถเพลิดเพลินไปกับประสบกาณ์บนแพลตฟอร์มได้อย่างไร้กังวล ด้วยการสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยบนโลกดิจิทับแบบเชิงรุก ผ่านการสร้างพันธมิตรกับทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ สื่อมวลชน รวมถึงเหล่าครีเอเตอร์ เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนพื้นที่ปลอดภัยบนโลกดิจิทัล อาทิ แคมเปญ #พื้นที่ปลอดภัยในการไถฟีด ที่ได้รวบรวมข้อมูลสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในการใช้สื่อดิจิทัล โดยให้ผู้ใช้เข้ามาร่วมแชร์ข้อมูลหรือเทคนิคที่เป็นประโยชน์ในแบบฉบับของตนเอง รวมทั้งการจัดเสวนาเพื่อให้ความรู้กับผู้ที่เกี่ยวข้องได้มาร่วมแบ่งปันมุมมองและประสบการณ์การใช้พื้นที่ดิจิทัลของคนยุคปัจจุบันในการเชื่อมต่อกับชุมชน รวมทั้งร่วมกันพัฒนาแนวทางการใช้แพลตฟอร์มอย่างสร้างสรรค์ และสร้างเกราะป้องกันให้กับตนเองเพื่อสุขภาวะด้านดิจิทัลที่ดีสำหรับทุกคน

TikTok มุ่งมั่นที่จะผลักดันการสร้างพื้นที่ปลอดภัยบนโลกดิจิทัลร่วมกับพันธมิตรในภาคส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ TikTok ได้ร่วมกับสื่อมวลชนในการจัดกิจกรรมเวิร์คช็อปเพื่อสร้างความเข้าใจในนโยบายด้านความปลอดภัยและ หลักเกณฑ์สำหรับชุมชน (Community Guidelines) ให้กับสื่อมวลชนภายใต้หัวข้อ "White Community" ซึ่งประกอบไปด้วย PolicyProductPeople และ Partnership เพื่อบรรลุเป้าหมายที่มีร่วมกัน บนพื้นฐาน หลักเกณฑ์สำหรับชุมชน (Community Guidelines) ที่จะสร้างสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการแสดงออกและการปกป้องภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้

Policy

เพื่อรักษาไว้ซึ่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดสร้างสรรค์ของผู้ใช้ทุกคนบนแพลตฟอร์มอย่างเท่าเทียม หลักเกณฑ์สำหรับชุมชน (Community Guidelines) ครอบคลุม 7 หัวข้อหลัก ได้แก่ ความปลอดภัยและสวัสดิภาพของเยาวชน (Youth Safety and Wellbeing), ความปลอดภัยและความสุภาพ (Safety and Civility), สุขภาพจิตและพฤติกรรม (Mental and Behavioral Health), เนื้อหาที่ละเอียดอ่อนและเหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่ (Sensitive and Mature Themes), บูรณภาพและความจริงแท้ (Integrity and Authenticity), สินค้าในควบคุมและกิจกรรมทางการค้า (Regulated Goods and Commercial Activities), ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย (Privacy and Security) ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติร่วมกันของคนในชุมชน ซึ่งมุ่งหวังให้ทุกคนสามารถใช้แพลตฟอร์มได้อย่างปลอดภัยและมีสุขภาวะดิจิทัลที่ดี

Product

อีกหนึ่งแนวทางที่ TikTok ออกแบบมาเพื่อปกป้องผู้ใช้งานจากภัยคุกคามทางดิจิทัลที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ เครื่องมือด้านความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม ซึ่งถูกออกแบบมาให้ครอบคลุมลักษณะการใช้งานและสามารถเข้าถึงได้ง่าย

  • ศูนย์ความปลอดภัยของ TikTok Safety Center เครื่องมือด้านความปลอดภัยที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบายด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
  • การตั้งค่าเพื่อควบคุมด้านความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวซึ่งผู้ใช้สามารถทำได้ผ่าน: 1) การตั้งค่าบัญชีใช้งาน (Account Setting) เพื่อควบคุมข้อมูลส่วนตัว ความเป็นส่วนตัวของบัญชี และการเข้าถึงจากสาธารณะ 2) การควบคุมชุมชน (Community Controls) ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถกำหนดผู้ที่สามารถเข้าถึงวิดีโอ แสดงความคิดเห็น หรือส่งข้อความโดยตรงถึงได้ 3) การควบคุมคอนเทนต์ (Content Controls) ซึ่งจะถูกปรับตามการเลือกติดตามบัญชีใช้งานใหม่ๆ การติดตามแฮชแท็ก ความสนใจในเนื้อหาที่แสดงบนหน้าการค้นพบ เพื่อให้การแสดงผลบน หน้าฟีด For You ตรงกับความสนใจและความเหมาะสมกับผู้ใช้งาน

People

TikTok มีแนวทางปฏิบัติเพื่อตรวจสอบพื้นที่บนแพลตฟอร์มให้มีความปลอดภัยอยู่ตลอดเวลาด้วยระบบการจัดการเนื้อหาแบบเชิงรุก หรือ Content Moderation ซึ่งจะทำงานผ่าน 2 ระบบหลัก คือ การใช้ Machine Learning ด้วยระบบคอมพิวเตอร์จะมีการคัดกรองเนื้อหาที่มีการละเมิด หลักเกณฑ์สำหรับชุมชน (Community Guidelines) ควบคู่ไปกับการใช้เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบกว่า 40,000 คน ในการพิจารณาบริบทของวิดีโอที่ได้รับการรายงานหรือมีความเสี่ยง ซึ่งจะปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการตรวจสอบเนื้อหาบนแพลตฟอร์มเป็นไปอย่างเข้มงวด

Partnership

การเดินหน้าสร้างพื้นที่ปลอดภัยบนโลกดิจิทัลนั้นเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่และไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวโดยลำพัง TikTok จึงได้มีการจับมือและทำงานร่วมกับพันธมิตรหน่วยงานต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อทำให้องค์ประกอบในการสร้างพื้นที่ปลอดภัยบนโลกดิจิทัลนั้นมีความครอบคลุมครบทุกด้าน โดยที่ผ่านมา TikTok ได้มีการจับมือกับทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรอิสระ และสื่อมวลชน ทั้งจากประเทศไทยและระดับโลก

TikTok มุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนพื้นที่บนโลกออนไลน์ให้สามารถเปิดกว้างและตอบรับความคิดสร้างสรรค์และตัวตนของทุกคนได้อย่างปลอดภัยผ่านเนื้อหาความบันเทิงที่สร้างสรรค์ เพื่อผลักดันให้เกิดสภาวะแวดล้อมบนโลกออนไลน์ที่ยั่งยืน